ประวัติชุมชน


ประวัติชุมชน

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “ อยู่เย็น เป็นสุข “

บ้านบุไท หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติของหมู่บ้าน
ประวัติความเป็นมา 


เดิมเมื่อประมาณ 100 ปี พื้นที่บริเวณบ้านบุไท เรียกชื่อว่าบ้านบุลาว ซึ่งคำว่า “บุ” เป็นภาษาถิ่น หมายถึงเดินเข้าไปในป่าดงดิบ เดิมตระกูลที่เข้ามาจับจองพื้นที่ คือ 1. ตระกูล ตรวจนอก เป็นคนในท้องถิ่น 2. ตระกูลนุเสน 3. ตระกูลสาอุต 4. ตระกูลบุญคำมูล เป็นคนมหาสารคาม ซึ่งตระกูลเหล่านี้อพยพมาอาศัยอยู่ที่ดอนข้างลำห้วยในพื้นที่บ้านหนองหญ้าปล้อง การปกครองสมัยพ่อเจ็ก ตรวจนอก ได้ตั้งขึ้นเป็น
ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ต่อมาทางอำเภอได้ให้มี
การแต่งตั้งชุมชน โดยมีพ่อใหญ่กลั่น นุเสน เป็น
ผู้ใหญ่บ้านคนแรกได้รับตราตั้งจากทางอำเภอบัว
ใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ เป็นบ้านบุ
ไทย เนื่องจากบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีผักชนิดหนึ่ง
ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก คือผักกระเพรา ภาษา
อีสานเรียกว่า ผักอีตู่ไทย จึงเปลี่ยนคำว่าลาว
มาเป็นไทย และได้ชื่อว่าบ้านบุไทย ตั้งแต่นั้นเป็น
ต้นมา และมีนายหนา สุขขาเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่
2 นายเปาะ จำปลานิน ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3
นายทราย นุเสน ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 และ
นายประวิติ บุญคำมูล เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน

1. ที่ตั้ง บ้านบุไทย หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่
จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ
ของศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง
ห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 115 กิโลเมตร
และออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะ
ทาง 14 กิโลเมตรจากที่ว่าการอำเภอบัวใหญ่
2. อาณาเขตและพื้นที่
ทิศเหนือ ติดบ้านโสกงูเหลือม ต.ขุนทอง อ.บัวใหญ่
ทิศใต้ ติดบ้านสระไผ่ ต.ห้วยยาง อ.บัวใหญ่
ทิศตะวันออก ติดบ้านหญ้าคา ต.ขุนทอง อ.บัวใหญ่
ทิศตะวันตก ติดบ้านหนองหญ้าปล้อง ต.ห้วยยาง อ.บัวใหญ่

3 ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
บ้านบุไท มีพื้นที่ทั้งหมด 1,300ไร่ สภาพพื้นที่เป็นทีลุ่มดอน
ตามแนวคลองน้ำสาธารณะ ดินเป็นดินเหนียว ปนทราย
มีน้ำใต้ผิวดินจำนวนมากซึ่งน้ำใต้ผิวดินสามารถนำมา
อุปโภค บริโภคได้ พื้นที่เกือบทั้งหมดใช้ประกอบอาชีพทำนา
สภาพอากาศโดยทั่วไปอากาศร้อนแห้งแล้งในฤดู
 ร้อนอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ฤดูฝน
ช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน และฤดูหนาว
จะอยู่ในช่วงปลายเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์
 4. การคมนาคม
สภาพการคมนาคมภายในหมู่บ้านสะดวกสบาย
เนื่องจากเป็นถนนคอนกรีตทั้งหมด แต่การคมนาคม
ระหว่างหมู่บ้านยังเป็นถนนดินผสมลูกรัง ในฤดูฝนจะ
เดินทางลำบากมาก การคมนาคมติดต่อกับอำเภอยังคง
ลำบากเนื่องจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นถนนดิน ก่อน
จะถึงถนนลาดยาง ระยะทาง 4 กิโลเมตร การเดินทางจะ
เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถยนต์
โดยสารจะวิ่งอาทิตย์ละ 2 วัน วันอังคารและวันศุกร์
ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที
5. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ดิน สภาพดินเป็นดินเหนียว ปนทราย ไม่มีความ
อุดมสมบูรณ์ขาดแร่ธาตุเนื่องจากดินถูกทำลาย
จากการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งระยะหลังหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ชีวภาพ ไถกลบต่อฟางข้าว ไม่ใช้สารเคมี
และมีการปลูกพืชบำรุงดิน

- แหล่งน้ำ มีแหล่งขนาดเล็กซึ่งไม่ได้มีไว้เพื่อการเกษตร
เพราะไม่เพียงพอ ซึ่งการประกอบอาชีพทำนาจะอาศัย
น้ำฝนเพียงอย่างเดียว ถ้าปีไหนฝนไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาลก็จะไม่ได้ทำนา แต่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ
เพื่อปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภค และเลี้ยงปลา แหล่ง
น้ำได้แก่ หนองน้ำบุไท คลองบ้านบุไท


-น้ำเพื่อการบริโภคจะใช้น้ำฝน โดยมีภาชนะรองรับไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปี ส่วนน้ำใช้ก็ใช้น้ำบาดาลซึ่งเป็นระบบน้ำประปาหมู่บ้านที่ไม่ได้มาตรฐาน สภาพน้ำเป็นหินปูนเกาะตามภาชนะที่รองรับน้ำแต่ก็ถือว่าไม่ขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ มีใช้เพียงพอตลอดปี มีพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ประมาณ 3 ไร่มีการปลูกต้นตะ
กูและปลูกป่าตามหัวไร่ปลายนา และบริเวณบ้านปลูกไม้ผล
เพื่อการบริโภคในครัวเรือน
6.ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพการมีงานทำในชุมชนและรายได้
- อาชีพหลัก ทำนา 71 ครอบครัว
- อาชีพรอง รับจ้าง 40 ครอบครัว
ค้าขาย 3 ครอบครัว
อาชีพเลี้ยงสัตว์ 50 ครอบครัว
อาชีพรับราชการ 12 คน/ 4 ครัวเรือน
-รายได้เฉลี่ย 39,767 บาท /คน / ปี
จากข้อมูล จปฐ. ปี 2553
 7. สาธารณูปการ
- ไฟฟ้ามีใช้ทุกครัวเรือน
- น้ำประปาใช้น้ำบาดาลของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นระบบน้ำประปาที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ก็
ใสสะอาดดีมีใช้ทุกครัวเรือน
- มีโทรศัพ์มือถือใช้เกือบทุกครัวเรือน และมีโทรศัพท์ สาธารณะ จำนวน 2 เครื่อง ใช้การไม่ได้
- มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน ใช้เป็นแหล่งข้อมูล
ของหมู่บ้าน เป็นที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน ที่ทำการกลุ่ม
ออมทรัพย์เพื่อการผลิต การออมวันละบาท ใช้เป็นแหล่ง
ฝึกอบรม ประชุม และศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง
 และเป็นศูนย์ข้อมูลของหมู่บ้าน
- มีร้านขายของชำ 3 แห่ง
- มีร้านซ่อมรถ 1 แห่ง
 8. ผลการพัฒนาของหมู่บ้าน
8.1 ผลการพัฒนาจากข้อมูล กชช2.ค ปี 2552 เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 (เป็นหมู่บ้านก้าวหน้า)
8.2 ผลการพัฒนาจากข้อมูล จปฐ.ปี 2552 สรุปตัวชี้วัดดังนี้
-ไม่มีข้อมูล 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 26 เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี แต่ไม่ได้เรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าและยังไม่มีงานทำได้รับการฝึกอบรมอาชีพ จำนวน – คน
-ผ่านเกณฑ์ 41 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14,15,16,17,18,19,20,21,22,23,24,
 25,27,28,29,30,31,32,33,34,35,36,37, 38,39,40,41,42
-ไม่ผ่านเกณฑ์ 0 ตัวชี้วัด
9. ครัวเรือน/ประชากร
จำนวนครัวเรือนและประชากรบ้านบุไท มีครัวเรือนทั้งหมด 85 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 515 คน
แบ่งออกเป็นชาย 265 คน หญิง 250 คน
10. การศึกษา บ้านบุไทย ไม่มีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ชั้นอนุบาล 1- ป. 6 จะไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหญ้าคา ต. ขุนทอง มีระยะทางห่างจากบ้านบุไทย 2 กิโลเมตร หลังจากจบ ป. 6 แล้ว บางคนไปเรียนต่อที่โรงเรียนในอำเภอ บางคนไปเรียนต่อที่โรงเรียนขยายโอกาสบ้านขามเตี้ย ต. ห้วยยาง ราษฎรในหมู่บ้านจบการศึกษาภาคบังคับเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผู้ที่จบการศึกษาสูงขึ้นมา ก็จะออกไปประกอบอาชีพที่ต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ
11. สุขภาพ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะเป็นโรคเบาหวาน
 ความดันโลหิตสูงมีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในหมู่บ้าน
1แห่ง โดยมีอสม.จำนวน 9 คน ขึ้นตรงต่อสถานีอนามัย
บ้านดงบังซึ่งเป็นสถานีอนามัยตำบล ห่างจากหมู่บ้าน
ระยะทาง 3 กิโลเมตร มีส้วมราดน้ำครบทุกครัวเรือน
 มีผู้ป่วยเบาหวาน 10 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 5 ราย
ผู้ป่วยจิตเวช 3 ราย ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
 มีการตรวจมะเร็งปากมดลูกครบทุกราย ตามที่อนามัยนัด
 หมายซึ่งโดยภาพรวมถือว่าสุขภาพร่างกายสมบูรณ์
 แข็งแรงมีการรวมกลุ่มออกกำลังกายบ้างตามสมควร

12. วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น
ชาวบ้านบุไทส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น